วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การใช้โฟมกับพวงหรีดในงานศพ



ในปัจจุบันมีการใช้โฟมเพื่อตกแต่งพวงหรีดรวมกันแล้วอาจมีปริมาณมากกว่าที่ใช้ในเทศกาลลอยกระทงเสียอีก เพราะมีการใช้ทุกวันและทุกวัด พวงหรีดที่ประดับในงานศพพอเสร็จพิธีก็ถูกทิ้งหรือนำไปเผา ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น วัดหนึ่งๆ จึงมีขยะโฟมเป็นจำนวนมาก หากบริหารจัดการไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดการทำลายชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
หลวงตาสุริยา (ส.มหาปฺญโญภิกขุ) วัดโสมพนัส จังหวัดสกลนคร ได้ฝากข้อคิดในการในพวงหรีดโฟมในงานศพว่า ขอให้เลือกวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นไปอย่างประหยัด ซึ่งทุกครั้งที่มีโอกาสท่านมักจะชี้แจงแสดงธรรม ให้ผู้คนทั้งหลายนำสิ่งของอย่างอื่นไปร่วมงาน เช่น เอาคุณธรรม เอาน้ำใจ เอาความห่วงใย ความรักใคร่สามัคคี เอาเครื่องไม้เครื่องมือ เอาวัสดุสิ่งของ หรือเอาเงินไปช่วยให้เจ้าภาพ คนละ ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท หรือ ๒๐๐ บาท ให้เจ้าภาพนำจตุปัจจัยไปซื้ออาหารมาเลี้ยงแขกยังจะดีกว่าการเอาพวงหรีดไปติดโฆษณาในงานศพ หลวงตาสุริยามีแนวคิดว่าปัจจุบันคนทั่วไปมักมองเฉพาะมุมการให้เกียรติเจ้าภาพ แต่ถ้าขาดปัญญาก็กลายเป็นการสร้างปัญหาให้กับโลกโดยไม่รู้ตัว หากจะอ้างเหตุผลทางประเพณี ท่านเห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เพิ่งแทรกเข้ามาใหม่ในวิถีชีวิตสังคมไทย ประเพณีใดๆ หากไม่ใช่สัจธรรม พิจารณาด้วยปัญญาแล้วให้โทษมากกว่าให้คุณ ได้ไม่คุ้มเสีย ก็ควรเลิกได้ วัฒนธรรมประเพณีมีเกิดมีตาย การสร้างสรรค์วัฒนธรรมประเพณีที่ขาดปัญญาจะกลายเป็นปัญหาทีหลังได้

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จากซากพวงหรีด สู่กระดาษรักษ์สิ่งแวดล้อม


รู้หรือไม่ว่า สถิติการตายของคนไทยอยู่ที่ประมาณปีละเกือบ 4 แสนคน โดยเฉลี่ยคือตายกันวันละกว่า 1,000 คน โดยในพิธีศพย่อมต้องมีดอกไม้สำหรับประดับโลงศพ และที่ขาดไม่ได้เลยคือพวงหรีดดอกไม้สดต่างๆ คิดกันเล่นๆ ว่าถ้าในประเทศไทยต้องมีงานศพกันประมาณวันละ 500 งาน แต่ละงานเอาแค่ว่าใช้พวงหรีดอย่างต่ำ 2 พวง ฉะนั้น 1 วันเท่ากับใช้พวงหรีด 1,000 พวง 1 เดือน ใช้พวงหรีด 30,000 พวง ครึ่งปีผ่านไป หมดพวงหรีดไปแล้ว 180,000 พวง 1 ปีผ่านไป ซากพวงหรีดที่ต้องกลายร่างเป็นขยะเพิ่มปริมาณขึ้นไปเป็น 360,000 พวง ลองนึกดูว่า หากเอาพวงหรีดเกือบ 400,000 พวงนี้วางเรียงซ้อนๆ กันขึ้นไป มันจะเกิดซากขยะสูงท่วมหัวเราสักแค่ไหน แต่แล้วพวงหรีดที่ไม่เคยถูกเหลียวแลเหล่านี้ ก็กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นได้ใหม่ ด้วยการกลายร่างเป็นกระดาษที่มีลักษณะคล้ายกระดาษสา แต่สามารถนำมาประยุกต์เป็นงานฝีมือได้หลากหลายชนิด ที่เด็ดไปกว่านั้นก็คือ หากมันต้องกลับมาเป็นพวงหรีดอีกครั้ง มันสามารถเพิ่มมูลค่าให้ตัวเองได้สูงกว่าเมื่อครั้งเป็นพวงหรีดดอกไม้สด

อาจารย์วนิดา กำพลรัตน์ อาจารย์สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนวัดธาตุทอง เจ้าของผลงานเล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่วัดธาตุทองมีศาลาสวดอภิธรรมมากถึง 82 ศาลา ซึ่งไม่เคยมีวันไหนเลยที่วัดธาตุทองจะว่างจากการจัดงานศพ ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนเห็นกันจนชินตาก็คือกองขยะที่มีแต่ซากพวงหรีดที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรต่อได้อีก อาจารย์วนิดา จึงเกิดแนวความคิดว่าหากนำซากพวงหรีด วัดธาตุทองเหล่านั้นกลับมาทำเป็นอะไรได้ใหม่ น่าจะเกิดประโยชน์ในหลายๆด้าน ว่าแล้วอาจารย์วนิดาก็เริ่มต้นลงมือเก็บพวงหรีดเหล่านั้นมาสร้างผลงานกระดาษรักษ์สิ่งแวดล้อมออกมาได้เป็นผลสำเร็จ

จริงๆ แล้วความคิดแรกที่อาจารย์นึกอยากจะทำก็คือ จะทำอย่างไรดีเพื่อที่จะให้นักเรียนประหยัดเงินในการฝึกฝนให้เด็กนักเรียนทำงานประดิษฐ์ได้มาก อาจารย์ก็เลยไปนึกถึงพวกเศษดอกไม้ที่เห็นเขาทิ้งๆ กันข้างศาลา เลยลองเอามาแปรรูปให้เป็นกระดาษดู ซึ่งปรากฏว่าเราก็สามารถทำได้ ลักษณะมันจะคล้ายๆ กับกระดาษสา สามารถทำให้เป็นแผ่นบางก็ได้ แผ่นหนาก็ได้ ดังนั้นมันจึงสามารถประยุกต์เป็นชิ้นงานได้หลายอย่าง ซึ่งก็บรรลุตามวัตถุประสงค์ของเรา ก็คือ ให้เด็กๆ เขาทำกระดาษแล้วก็นำมาต่อยอดเป็นงานฝีมือ เช่น ช่อดอกไม้ กล่องกระดาษทิชชู่ กรอบรูป การ์ดอวยพร พวงหรีด ฯลฯ”

เป็นอีกหนึ่งผลงานที่น่าภาคภูมิใจและสมควรได้รับการยกย่อง เป็นการผสมผสานระหว่างการงานอาชีพ ศิลปะการประดิษฐ์ต่างๆ กับของเหลือใช้ ของที่ใครบางคนคิดว่าไม่มีประโยชน์แล้ว นำมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น รวมทั้งยังลดโลกร้อน และยังเป็นรายได้พิเศษให้กับอีกหลายๆคนอีกด้วย

ที่มา: udclick.com

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พวงหรีดกับมารยาทในงานศพ


งานศพเป็นงานที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าของเจ้าภาพ ผู้เข้าร่วมงานจึงควรสำรวมด้วยเช่นกัน มารยาทในการเข้าร่วมงานศพที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

1. แต่งกายให้เหมาะแก่การเข้าร่วมงานศพ เลือกชุดสีดำหรือขาวที่เรียบร้อย ไม่โป๊จนเกินไป และไม่ประโคมเครื่องประดับมากเกิน
2. เมื่อไปถึงงานควรเข้าไปแสดงความเสียใจกับเจ้าภาพเป็นอันดับแรก เวลารดน้ำศพควรให้ผู้ที่อาวุโสมากเข้าไปก่อน เมื่อเดินผ่านโต๊ะหมู่ควรกราบหรือไหว้พระ จากนั้นไหว้หรือกราบศพ รับน้ำอบมารดที่มือศพ เสร็จแล้วจึงกราบหรือไหว้ศพอีกครั้ง
3. ในคืนสวดพระอภิธรรม ผู้เข้าร่วมฟังพระสวดควรมีพวงหรีดไปแสดงความเคารพศพด้วย อาจเป็นพวงหรีดดอกไม้สดหรือพวงหรีดดอกไม้แห้งตามสะดวก และควรนั่งฟังพระสวดอย่างสงบ ไม่พูดคุยกัน
4. ถ้าร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ควรไปก่อนเวลาและควรเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล และเป็นผู้ถวายเครื่องปัจจัยไทยทานและทอดผ้าบังสุกุล รวมถึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายด้วย
5. ในวันเผาศพควรไปก่อนเวลา เมื่อไปถึงงานหลังจากพบเจ้าภาพแล้วให้ทำความเคารพศพด้วย ผู้ชายให้คำนับ ส่วนผู้หญิงให้ยกมือไหว้ จากนั้นจึงไปหาที่นั่ง การเลือกที่นั่งผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่าควรนั่งด้านหลังผู้อาวุโสมากกว่า
6. เมื่อประธานในพิธีจุดเพลิง และวางดอกไม้ที่เชิงตะกอนแล้ว ผู้ร่วมงานทุกคนต้องยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิต เมื่อประธานในพิธีลงมาจากเมรุผู้ร่วมงานคนอื่นๆ จึงทยอยขึ้นเมรุอย่างเป็นระเบียบเพื่อวางดอกไม้จันทน์ และควรรับของชำร่วยเพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้นเมื่อเดินลงมา
7. ก่อนกลับควรกล่าวลาเจ้าภาพด้วย

นอกจากมารยาทในงานศพที่ทุกคนควรจะปฏิบัติแล้วนั้น ควรจะมีของแสดงความไว้อาลัยไปมอบให้แก่ผู้ตายด้วย ตัวเลือกแรกๆที่ผู้คนนึงถึงก็คือพวงหรีด ไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดดอกไม้สด, พวงหรีดพัดลม, พวงหรีดผ้า ฯลฯ อย่างน้อยเพื่อช่วยบรรเทาความเศร้าโศกให้แก่ผู้สูญเสียได้ไม่มากก็น้อย

ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ต้นกำเนิดพวงหรีด มาจากไหน



พวงหรีด (Wreath) เป็นดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่างๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เคารพศพ ประดับตกแต่ง หรือทำเป็นมงคล (เครื่องสวมศีรษะ) ในยุคโรมันโบราณมีการใช้หรีดมาประดับศีรษะ โดยเรียกว่า ลอเรลหรีด โดยใช้ใบไม้สานกัน
ในประเทศไทยพวงหรีดเข้ามาราวรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เป็นการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามา โดยนำมาใช้ในงานศพทั่วไปเพื่อแสดงความระลึกถึงผู้ที่จากไป
ในปัจจุบันพวงหรีดนอกจากพวงหรีดที่ทำมาจากดอกไม้สดแล้ว ยังมีพวงหรีดแบบใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น พวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์ พวงหรีดผ้าชนิดต่างๆ พวงหรีดพัดลม เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของพวงหรีดชนิดใหม่ๆเกิดขึ้นมาเพราะ สมัยก่อนคนนิยมสั่งพวงหรีดดอกไม้สด โดยเฉพาะงานศพของผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ก็มักจะได้พวงหรีดมาก บางครั้งก็เต็มจนล้นศาลาวัด ทำให้บางครั้งเป็นภาระของทางวัดที่ต้องเป็นผู้จัดการพวงหรีดที่ใช้แล้ว จึงมีคนเสนอให้มีการใช้พวงหรีดชนิดใหม่ๆ เช่น พวงหรีดผ้า พวงหรีดพัดลม ซึ่งเมื่อใช้แล้วก็เหมือนเราบริจาคผ้าหรือพัดลมให้วัด ทางวัดก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ต้องนำไปทิ้งเหมือนพวงหรีดดอกไม้สด ซึ่งช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ อีกทั้งสมัยนี้ยังมีบริการส่งพวงหรีดถึงวัด ไม่ว่าจะเป็นพวงหรีด วัดธาตุทอง พวงหรีด วัดพระศรี และวัดอื่นๆ เพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ที่มาแนวคิดพวงหรีดพัดลม สร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ได้จริง


นครราชสีมา 7 พ.ค. 57 วัดสุทธจินดาวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดงานบำเพ็ญกุศลศพ นางอุไร ไชยศิริ อายุ 88 ปี ซึ่งเป็นมารดาของนายแพทย์กวี ไชยศิริ ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส. ที่ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความเศร้าโศก แต่สิ่งที่สะดุดตาของผู้ที่มาร่วมงาน ก็คือ พวงหรีดพัดลมขนาดต่างๆ จำนวน 300 เครื่อง ที่วางอยู่เต็นท์หน้าศาลาและภายในศาลาสวดพระอภิธรรมศพ ซึ่งพัดลมทั้งหมด เป็นพัดลมที่ผู้มาร่วมงานนำมามอบให้แทนพวงหรีดดอกไม้สด โดยแนวคิดการขอรับพวงหรีดพัดลมแทนพวงหรีด เป็นของลูกชายของผู้เสียชีวิต คือ นายแพทย์กวี ไชยศิริ ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่เล็งเห็นความจำเป็นในการใช้งาน จึงคิดว่า พวงหรีดพัดลมสามารถใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ต่างจากพวงหรีดดอกไม้สด ที่เมื่อเวลาผ่านไปดอกไม้ก็จะแห้งเหี่ยวเฉา และมีกลิ่นเหม็น สุดท้ายก็ต้องนำไปทิ้งโดยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้
เราได้เห็นการสร้างสรรค์พวงหรีด โคราช แบบใหม่ๆกันไปแล้ว เราหวังว่าจังหวัดอื่นไม่ว่าจะเป็นร้านขายพวงหรีด เชียงใหม่, ร้านขายพวงหรีด นนทบุรี และอีกหลายๆจังหวัดที่ควรจะเริ่มประยุกต์ใช้พวงหรีดแนวใหม่ๆ เพื่อครอบคลุมถึงความต้องการของลูกค้าด้วย

ขอบคุณที่มา: sanook.com

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

มารยาทในงานศพ กับพวงหรีดช่วยบรรเทาความเศร้าโศก


งานศพเป็นงานที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าของเจ้าภาพ ผู้เข้าร่วมงานจึงควรสำรวมด้วยเช่นกัน มารยาทในการเข้าร่วมงานศพที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

1. แต่งกายให้เหมาะแก่การเข้าร่วมงานศพ เลือกชุดสีดำหรือขาวที่เรียบร้อย ไม่โป๊จนเกินไป และไม่ประโคมเครื่องประดับมากเกิน
2. เมื่อไปถึงงานควรเข้าไปแสดงความเสียใจกับเจ้าภาพเป็นอันดับแรก เวลารดน้ำศพควรให้ผู้ที่อาวุโสมากเข้าไปก่อน เมื่อเดินผ่านโต๊ะหมู่ควรกราบหรือไหว้พระ จากนั้นไหว้หรือกราบศพ รับน้ำอบมารดที่มือศพ เสร็จแล้วจึงกราบหรือไหว้ศพอีกครั้ง
3. ในคืนสวดพระอภิธรรม ผู้เข้าร่วมฟังพระสวดควรมีพวงหรีดไปแสดงความเคารพศพด้วย อาจเป็นพวงหรีดดอกไม้สดหรือพวงหรีดดอกไม้แห้งตามสะดวก และควรนั่งฟังพระสวดอย่างสงบ ไม่พูดคุยกัน
4. ถ้าร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ควรไปก่อนเวลาและควรเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล และเป็นผู้ถวายเครื่องปัจจัยไทยทานและทอดผ้าบังสุกุล รวมถึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายด้วย
5. ในวันเผาศพควรไปก่อนเวลา เมื่อไปถึงงานหลังจากพบเจ้าภาพแล้วให้ทำความเคารพศพด้วย ผู้ชายให้คำนับ ส่วนผู้หญิงให้ยกมือไหว้ จากนั้นจึงไปหาที่นั่ง การเลือกที่นั่งผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่าควรนั่งด้านหลังผู้อาวุโสมากกว่า
6. เมื่อประธานในพิธีจุดเพลิง และวางดอกไม้ที่เชิงตะกอนแล้ว ผู้ร่วมงานทุกคนต้องยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิต เมื่อประธานในพิธีลงมาจากเมรุผู้ร่วมงานคนอื่นๆ จึงทยอยขึ้นเมรุอย่างเป็นระเบียบเพื่อวางดอกไม้จันทน์ และควรรับของชำร่วยเพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้นเมื่อเดินลงมา
7. ก่อนกลับควรกล่าวลาเจ้าภาพด้วย

นอกจากมารยาทในงานศพที่ทุกคนควรจะปฏิบัติแล้วนั้น ควรจะมีของแสดงความไว้อาลัยไปมอบให้แก่ผู้ตายด้วย ตัวเลือกแรกๆที่ผู้คนนึงถึงก็คือพวงหรีด ไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดดอกไม้สด, พวงหรีดพัดลม, พวงหรีดผ้า ฯลฯ อย่างน้อยเพื่อช่วยบรรเทาความเศร้าโศกให้แก่ผู้สูญเสียได้ไม่มากก็น้อย

ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

พวงหรีด ชนิดต่างๆในปัจจุบัน


พวงหรีดสมัยปัจจุบันในประเทศไทยนอกจากมี พวงหรีดดอกไม้สดแล้ว ยังมีพวงหรีดแบบใหม่ๆมีขึ้นมาอีกหลายประเภท เช่น พวงหรีดดอกไม้แห้งหรือพวงหรีดไม้ประดิษฐ์ พวงหรีดผ้าชนิดต่างๆ พวงหรีดพัดลม ฯลฯ

โดยวัตถุประสงค์ของการทำพวงหรีดชนิดใหม่ๆเกิดขึ้นมาเพราะสมัยก่อนคนนิยมสั่งพวงหรีดดอกไม้สด โดยเฉพาะงานศพของผู้มีชื่อเสียง ที่เป็นที่รู้จัก ก็มักจะได้รับพวงหรีดมากมาย บางครั้งก็เต็มจนล้นศาลาวัด ทำให้บางช่วงเป็นภาระของทางวัดที่ต้องเป็นผู้จัดการพวงหรีดที่ใช้แล้ว จึงมีคนเสนอให้มีการใช้พวงหรีดชนิดใหม่ๆ เช่น พวงหรีดผ้า พวงหรีดพัดลม ซึ่งเมื่อใช้แล้วก็เหมือนเราบริจาคผ้าหรือพัดลมให้วัด ทางวัดก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ต้องนำไปทิ้งเหมือนพวงหรีดดอกไม้สด หรือพวงหรีดที่เป็นต้นไม้ซึ่งโดยส่วนมากนิยมเป็นต้นโมก เพราะเป็นต้นไม้มงคล ทางวัดก็จะสามารถนำไปปลูกต่อไป ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้

ในราวรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เป็นการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในสมัยโบราณหากคนต้องการจะไปงานศพ ก็มักจะไปสั่งพวงหรีดเอาที่ร้าน พวงหรีดซึ่งโดยมากตั้งอยู่ตามข้างวัด โดยเฉพาะวัดดังๆซึ่งมีจัดงานศพบ่อย เป็นประจำ แต่เนื่องจากในปัจจุบันสถานการณ์สังคมเปลี่ยนไป บางคนต้องทำงานจนดึกกว่าจะเลิกงานก็ไปสั่งพวงหรีดไม่ทันเพราะต้องเจอปัญหารถติดหลังเลิกงาน หรือบางบริษัทก็ต้องส่งพวงหรีดไปงานศพของญาติลูกน้องแต่ไม่มีเวลาไปร้านพวงหรีดเนื่องจากไม่ได้ไปงานศพเองหรืองานศพจัดที่ต่างจังหวัด เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันมีการสั่งตามร้านพวงหรีดออนไลน์เกิดขึ้น ตามยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้น ซึ่งก็ได้รับความนิยมและสามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างมากมาย ยิ่งตอนนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ต่างจังหวัด ก็ยังสามารถสั่งพวงหรีดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสั่งพวงหรีด เชียงใหม่, ส่งพวงหรีด โคราช, ส่งพวงหรีด ชลบุรี หรือจังหวัดอื่นๆก็มีให้บริการ